สรุปกฏ 5 ข้อของ Parallel Structure จำไปใช้ทำข้อสอบได้ทันที

5 ข้อนี้จำไปใช้ทำข้อสอบได้ทันที

Admin

วันนี้จะมาชวนคุยกันเรื่องที่ใช้บ่อยๆ และเจอในข้อสอบตลอดเวลาครับ ซึ่งเรื่องนั้นก็คือ Parallel Structure หรือ โครงสร้างคู่ขนาน  

Parallel Structure คืออะไร

Parallel Structure คือ โครงสร้างประโยคที่ประกอบไปด้วยคำ กลุ่มคำ ที่ทำหน้าที่เดียวกัน หากเป็น Part of Speech ชนิดใดก็ต้องเป็นชนิดเดียวกัน โดยมีคำสันธานเป็นตัวเชื่อม เช่น and, but, or เป็นต้น

การเชื่อมนี้ทำเพื่อให้ข้อความในประโยคมีความต่อเนื่องกัน

5 กฏข้อของโครงสร้างคู่ขนาน (Parallelism rules)

กฎข้อที่ 1 : ใช้ Parallel Structure กับ Coordinating conjunctions

Coordinating conjunctions : คำสันธานที่ใช้เชื่อมคำหรือประโยคเข้าด้วยกัน โดยทั้งสองคำหรือข้อความต้องมีน้ำหนักหรือความสำคัญเท่ากัน มีดังนี้


For (เพราะว่า…) And (และ…) Nor (และไม่…)
But (แต่, อย่างไรก็ตาม…) Or (หรือ…) Yet (แต่…)
So (ดังนั้น…)


หลักการจำง่ายๆ : FANBOYS

Ex. They wanted to cook and to swim.
Ex. He will meet you either at the movie or at the party.

กฏข้อที่ 2 : ใช้ Parallel Structure กับองค์ประกอบที่เป็นชุดเดียวกันเท่านั้น

เวลาใช้ Pararell Structure เราจะเชื่อมคำแบบเดียวกันเท่านั้น เช่น

– เป็นชุดคำ (Word) ทั้งหมด :
She is reading about dogs, cats, and rabbits.

– เป็นชุดคำกริยา (Infinitives) ทั้งหมด :
They wanted to cook and to swim.


– เป็นชุดบุพบทวลี (Prepositional phrases) ทั้งหมด :
You couldn’t find the keys on the table, in my pocket, on the floor, or the hook.


– เป็นชุดอนุประโยค (Clauses) ทั้งหมด :
The customer doesn’t care about who are you, how you got here, or why you have come.

กฎข้อที่ 3 : ใช้ Parallel Structure กับการเปรียบเทียบได้เช่นกัน (ใช้ than ในการเชื่อม)

เราสามารถใช้โครงสร้าง Pararell Struture เมื่อเราต้องการเปรียบเทียบได้ เช่น

I like cooking better than eatting.

I would rather pay for my education than receive financial aid.

 

กฎข้อที่ 4 : ใช้ Parallel Structure กับองค์ประกอบที่เชื่อมด้วย linking verb หรือ verb to be 

โครงสร้างแบบนี้สามารถเจอได้บ่อยครับ แอดจะยกตัวอย่างมาให้เพื่อนๆ ดูเพื่อที่จะได้เข้าใจได้ดีขึ้น

แบบที่ผิด
To succeed is opening a new opportunity.

ถ้าเราใช้หลักการ verb to be หรือ linking verb มาเป็นตัวเชื่อมของ Pararell structure นั้น จะต้องเป็นคำแบบเดียวกัน เช่น ในตัวอย่างนี้ ด้านหน้าคือ infinitive with to ด้านหลัง is จะต้องเป็น infinitive with to เช่นเดียวกัน

ดังนั้นประโยคที่ถูกต้องจะต้องเป็นแบบนี้ครับ

To succeed is to open a new opportunity.
Succeeding is opening a new opportunity.

ตัวอย่างเพิ่มเติม

What you see is what you get.
To know her is to love her.
Being Tom’s friend means being constantly alert.

 

กฎข้อที่ 5 : ใช้ Parallel Structure กับองค์ประกอบที่เชื่อมด้วย Correlative conjunction

Correlative conjunction : คำสันธานที่ต้องใช้คู่กันเสมอ มีดังนี้
either … or … (ไม่…ก็) *เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
neither … nor … (ไม่…และ) *ไม่ทั้งสองอย่าง
both … and … (ทั้ง…และ)
not only … but also … (ไม่เพียงแต่…แต่อีกด้วย)

การใช้ Pararell Structure กับ Correlative conjunction และการเชื่อมนั้นจะต้องเป็น องค์ประกอบแบบเดียวกัน เช่น

We wew told to reduce the staff or find new customers.

Agnes was neither going to classes nor doing her assignments.

I would like both to buy a new house and to purchase a new car

As young recruits, we were told not only what to do but also what to think..

จบแล้วสำหรับสรุป สั้นๆ กฏ 5 ของ Pararell Structure

ฝากเพื่อนๆ ติดตามบทความของ Memmoread ด้วยนะครับ

ต้องการฝึกทำข้อสอบ TOEIC พร้อมเฉลยภาษาไทยโหลดแอพนี้ได้เลย

ติดปัญหา มีข้อสงสัย ต้องการคำแนะนำอื่น ทำยังไง

ถ้าเพื่อนๆ ต้องการคำแนะนำ ในการสอบ TOEIC การเตรียมตัว หรือต้องการกำลังใจ เพื่อนๆ สามารถทักหาแอดมินได้ตลอดเลยนะครับ เราให้คำปรึกษา และคำแนะนำ ฟรี ไม่คิดเงิน ตลอด 24 ชั่วโมงครับ

ติดต่อ Memmoread ที่แชทไลน์ ปุ่มนี้ได้เลยนะครับ

ไม่รู้จะเริ่มต้นกับ TOEIC ยังไง

ปรึกษาทีมงาน Memmoread.website ฟรี