เตรียมสอบ TOEIC ด้วยตัวเอง ตอนที่ 4 – สรุป TOEIC Part 5 & 6

สอนวิเคราะห์โจทย์ ลักษณะข้อสอบ และเทคนิคการทำข้อสอบ

Admin

สำหรับคนที่เตรียมสอบ TOEIC ด้วยตัวเอง ควรเริ่มศึกษาอะไรก่อน เป็นอันดับแรก

ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้ลงเรียนคอร์สอะไรเลย ก่อนสอบ TOEIC เริ่มอ่านทุกอย่างด้วยตัวเอง ผมจึงเข้าใจความรู้สึกของการที่จะไม่รู้จะเริ่มต้น อ่าน TOEIC จากตรงไหนดี

สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังหาหนทางในการเริ่มต้นไม่เจอ ผมได้จัดทำ ซีรี่ย์บทความการเตรียมสอบ TOEIC ด้วยตัวเองขึ้นมา

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการอ่าน TOEIC ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเสียเงินเข้าเรียนคอร์สอะไรทั้งนั้น

รับรองว่าอ่านบทซีรีย์บทความของเรา เทียบเท่ากับซื้อหนังสือ หรือเรียนคอร์สออนไลน์แน่นอนครับ 

และที่สำคัญ ฟรี อ่านได้ฟรีๆ ไม่คิดเงินสักบาท

ตอนที่ 4 สรุป TOEIC Part 5 & 6

ตอนที่ 2 และ 3 พวกเราได้รู้เกี่ยวกับ แกรมม่า และการวิเคราะห์ประโยคไปแล้ว ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นพื้นฐานสำคัญเลยครับ สำหรับ TOEIC พาร์ทที่ห้า และหก

การทำข้อสอบของ TOEIC พาร์ทที่ห้า และหก ตัวคำถามนั้นมีความใกล้เคียงกัน การวิเคราะห์โจทย์ และการทำข้อสอบนั้นใช้เทคนิคเดียวกันได้ครับ

ในบทความผมจะเริ่มจากพาร์ท 5 ก่อน จากนั้นค่อยไปต่อพาร์ท 6 นะครับ

post-cover-1-1536x864

Table of Contents

TOEIC พาร์ท 5

พาร์ทนี้เป็นพาร์ทที่โจทย์จะวัดความรู้เรื่องไวย์กรณ์ หรือ grammar เป็นหลัก รองลงมาจะเป็นการวัดความหมายของคำศัพท์

ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถแบ่งข้อสอบ TOEIC พาร์ท 5 ได้ออกเป็นสองแบบ ตามนี้

เราสามารถแยกข้อสอบทั้ง 2 แบบนี้ได้จากตัวเลือก ข้อสอบที่ถามแกรมม่าตัวเลือกจะเป็นคำเดียวกันหมด ส่วนตัวเลือกที่วัดคำศัพท์ตัวเลือกจะเป็นศัพท์ที่ไม่เหมือนกัน

หลายๆ ติวเตอร์ และหนังสือๆ หลายๆ เล่ม จะบอกไว้เลยว่า ถ้าเจอข้อสอบ แบบที่ 1 ให้วิเคราะห์ประโยค ดูเรื่องแกรมม่าได้เลย ส่วนถ้าเจอโจทย์ถามคำศัพท์ให้วัดที่คลังคำศัพท์ในหัวเราเลย ซึ่งแบบนี้ไม่ได้ผิดนะครับ แต่ผมอยากให้เก็บวิธีแบบนี้ไว้เมื่อเราคล่อง หรือเราเก่งแล้ว

วิธีการทำข้อสอบที่ผมแนะนำจะเป็นแบบนี้ครับ

เทคนิคการทำข้อสอบ TOEIC พาร์ท 5

สิ่งแรกเมื่อเพื่อนเจอข้อสอบที่มีตำแหน่งที่หายไปแบบนี้ ผมอยากให้เพื่อนวิเคราะห์ประโยคกันก่อนครับ เพื่อจะได้รู้ว่าทำแหน่งที่หายไปควรเป็น part of speech อะไร

ทำแบบนี้ทั้งโจทย์ที่ถามแกรมม่า และถามคำศัพท์เลยนะ

และขั้นต่ำไปคือการตัดชอยส์ทีละตัว พร้อมบอกเหตุผลด้วยว่าทำไมข้อนี้ตัวเลือกนี้ผิด ตัวเลือกนี้ถูก

ข้อนี้ของการฝึกทำแบบนี้คือ เมื่อฝึกทำบ่อยๆ เราจะมองประโยคภาษาอังกฤษได้อย่างทะลุปลุโปร่งครับ และเนื่องจากข้อสอบ TOEIC เนี่ย ส่วนมากจะเป็นประโยค เดี่ยว และประโยคความซ้อนที่ไม่ซับซ้อนมาก เมื่อเรามองประโยคได้อย่างเฉียบขาดแล้ว มันจะส่งผลดีกับการทำข้อสอบทุกๆ พาร์ททั้ง Reading และ Listening เลย

ผมจะแสดงตัวอย่างให้เพื่อนๆ ดูก่อนนะว่าเทคนิคที่ผมบอกให้เพื่อนๆ ทำ ต้องทำยังไงบ้างในการฝึกฝน

Mark Hempel offered his full ________ on a project that is developing a new TV show about international cultures.

(A) cooperates
(B) cooperative
(C) cooperation
(D) cooperatively

วิเคราะห์ประโยค
ประโยคนี้มีประธานคือ Mark Hempel
main verb คือ offered
กรรมของประโยคคือ his full ________ .

ตำแหน่งที่หายไปอยู่หลัง his ที่เป็น adj แสดงความเป็นเจ้าของ และ full ที่เป็น adj ดังนั้นตำแหน่งนี้ควรเป็นคำ noun

*นอกจากนี้โจทย์ข้อนี้มี 2 ประโยคซ้อนคือ แล้วเชื่อมด้วย that (เป็น conj) แบ่งประโยคได้ดังนี้

  1. Mark Hempel offered his full ________ on a project.
  2. project is developing a new TV show about international cultures.

มาพิจารณาตัวเลือก

ตัวเลือก A เป็น verb ตัวเลือกนี้ตัดทิ้งได้เลย
ตัวเลือก B เป็น adj ตัวเลือกนี้ตัดทิ้งได้เลย
ตัวเลือก D เป็น adv ตัวเลือกนี้ตัดทิ้งได้เลย

คำตอบที่ถูกต้องคือตัวเลือก  C cooperation เป็น noun แปลว่า “ความร่วมมือ”

Mr. Wilkins would like some ________ setting up the audio-visual equipment in the conference room before the seminar on Thursday.

(A) assisted
(B) assist
(C) assistance
(D) assisting

วิเคราะห์ประโยค
ประโยคนี้มีประธานคือ Mr. Wilkins
main verb คือ like
กรรมของประโยคคือ some ________ .
ตำแหน่งที่หายไปอยู่หลัง some ที่เป็น adj ดังนั้นตำแหน่งที่หายไปต้องเป็น noun

มาพิจารณาตัวเลือก
ตัวเลือก A เป็น adj ตัวเลือกนี้ตัดทิ้งได้เลย

ตัวเลือก B เป็น verb ตัวเลือกนี้ก็ผิด ตัดทิ้งได้เลย (จริง assist เองก็เป็น noun ได้นะครับ แต่จะใช้ในเวลาพูดเกี่ยวกับด้าน กีฬา ซึ่งข้อนี้ไม่ได้เกี่ยวกับกีฬา ดังนั้นเลยตัดเรื่องของการเป็น นามทิ้งได้เลย)

ตัวเลือก D assisting โดยตัวมันเองนั้นไม่มีความหมายครับ การใช้ assisting นั้นโดยทั่วไป จะมาจากกรณี 1. ผัน assist เป็น assisting ใน continuous tense และ 2 กรณีที่ผัน verb เพื่อให้กลายเป็น noun หรือที่เรียกว่า gerund

gerund นั้น ยังเป็น verb อยู่นะครับ ไม่ใช้เป็น noun เลย แต่มันยังเป็น verb อยู่ครับ และเมื่อตำแหน่งที่หายไปนั้นนำหน้าด้วย some ที่เป็น adj แล้ว ตำแหน่งที่หายไปนั้นต้องเป็น noun เท่านั้นครับ ตัวเลือก assisting จึงผิด
(แนะนำให้อ่านต่อเกี่ยวกับ gerund ที่นี่ครับ คลิก)

ตัวเลือก C เป็น noun แปลว่า “ความช่วยเหลือ” เมื่อแทนในตำแหน่งที่หายไปนั้นจะเหมาะสมมากที่สุดเลย เพราะว่า เป็น noun ที่ตามหลัง adj ตามหลักแกรมม่าตรงๆ เลยครับ
เมื่อนำมาแปลในประโยคจะได้ว่า “คุณวิลกินส์ต้องการความช่วยเหลือในการติดตั้งอุปกรณ์ภาพและเสียงในห้องประชุมก่อนการสัมมนาในวันพฤหัสบดี”
ดังนั้นในโจทย์ข้อนี้ ตัวเลือก C จึงถูกต้อง

ทีนี่เพื่อน อาจสงสัยว่า assistance นั้นตามหลังด้วย setting ได้หรอ จริงๆ แล้วข้อนี้มี in อยู่นำหน้า setting ครับ แต่โจทย์ตัดทิ้งออกไป ซึ่ง in จะตามหลังด้วย noun/gerund  ได้ครับ เพราะว่าเป็น preposition

Museum management reminds all visitors not to leave their children ________ inside the building.
(A) unfamiliar
(B) invisible
(C) unattended
(D) inattentive

วิเคราะห์ประโยค
ประโยคนี้มีประธานคือ Museum management
main verb คือ reminds
กรรมของประโยคคือ all visitors

นอกจากนี้ประโยคนี้มี verb อีก 1 ตัวเลือก to infinitive ซึ่งคือ to leave
กรรมของ to leave คือ their children ________ 
และมี adv of place คือ inside the building.

ตำแหน่งที่หายไปอยู่หลัง leave เป็น verb ที่สามารถเป็น Causative verb ได้ และบางครั้งการใช้ leave + noun + adj เป็นรูปแบบการใช้งานที่ไม่ผิดแกรมม่า

และเมื่อตัวเลือกทั้งหมดเป็น adj เราจะเลือกตัวเลือกที่ถูกต้องจากตัวเลือกที่ให้ความหมายเข้ากับบริบทมากที่สุด

มาพิจารณาตัวเลือก

ตัวเลือก (A) unfamiliar แปลว่า ไม่คุ้นเคย
ตัวเลือก (B) invisible แปลว่า มองไม่เห็น
ตัวเลือก (C) unattended แปลว่า ไม่มีคนดูแล
ตัวเลือก (D) inattentive แปลว่า ไม่ตั้งใจ

เมื่อเอาตัวเลือกทั้งหมดมาแปลในประโยคแล้ว ตัวเลือก C มีความหมายที่เข้ากับบริมากที่สุด

“พิพิธภัณฑ์เตือนให้ผู้เยี่ยมชมทุกคนอย่าปล่อยให้เด็ก ๆ อยู่ในอาคารโดยไม่มีใครดูแล”

วิธีการฝึกฝนแบบนี้ตอนแรกๆ มันอาจจะยาก และช้า ไปบ้าง แต่ผมกล้าการันตีได้ว่า เมื่อหัดไปทำสักพัก สกิลการทำโจทย์ และการวิเคราะห์ประโยคของเพื่อนๆ และความเข้าใจแกรมม่า ของเพื่อนๆ จะเก่งขึ้นแน่นอน

ฝึกทำข้อสอบจากที่ไหนดี

ผมแนะนำให้เพื่อนๆ ลองฝึกฝนทำข้อสอบจากแหล่งที่มีเฉลยภาษาไทยครับ วิธีนี้จะไกด์เพื่อนๆ ในการทำข้อสอบ และเป็นการตรวจความถูกต้องไปในตัวด้วยว่า เราวิเคราะห์โจทย์ได้เหมือน หรือแตกต่างจาก เฉลยมากแค่ไหน

ลองมาฝึกทำเพิ่มเติมกันหน่อยนะครับ ผมหยิบเอาตัวอย่างข้อสอบในแอพ MMR TOEIC Reading ที่มีเฉลยภาษาไทยมาให้เพื่อนๆได้ลองทำกันครับ เมื่อดูโจย์แล้ว ลองตอบคำตอบไว้ในใจนะ แล้วค่อยกดดูเฉลยครับ

Question 1

1-1
1A

Question 2

2

ข้อดีของแอพนี้คือมีเฉลยภาษาไทยอย่างละเอียด และมีทีมซัพพอร์ทเป็นคนไทย ถ้าเพื่อนๆ ติดขัด หรือว่าต้องการสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อทีมซัพพอร์ตในแอพเลยครับ

ข้อสอบในแอพ MMR TOEIC ทั้งหมดเป็น New TOEIC 2020 ที่ยาก และเหมือนข้อสอบจริงแบบสุด เพื่อนๆ ที่จะสอบ TOEIC ห้ามพลาด เป็นตัวเลือกที่ดีในมากๆ ในการฝึกฝนเลยครับ

ลิงค์สำหรับโหลดแอพกดที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

TOEIC พาร์ท 6

ข้อสอบพาร์ท 6 โจทย์ที่ถามจะเหมือน TOEIC พาร์ท 5 เลยครับ แต่ว่ารูปแบบที่ให้มานั้นต่างกัน คือ ข้อสอบจะให้บทความมา 1 บท และมีตำแหน่งที่หายไปเว้นเอาไว้ในบทความ ดูในรูปด่านล่างนี้ได้เลย

ตัวอย่างข้อสอบ-Part-6-2

จะเห็นได้ว่า คำถามในแต่ละบทความจะมี 4 ข้อ ซึ่ง 3 ใน 4 ข้อนั้น เหมือนกันกับคำถามพาร์ทพาร์ท 5 เลย คือ ถามแกรมม่า หรือถามคำศัพท์นั่นเอง

วิธีทำโจทย์ก็จะเหมือนกัน โดย ให้เพื่อนๆ มองประโยคของตำแหน่งที่หายไป จากต้นประโยค จนถึง full stop ของมันได้เลยครับ จะเหมือนกับประโยคของพาร์ท 5 เลย

ตัวอย่างเช่นข้อ 131 เพื่อน ก็ประโยคของตำแหน่งที่หายไปตามนี้เลย

Thank you for inquiring about our services for obtaining ________

แล้วมาใช้หลักการวิเคราะห์เช่นเดียวกับเทคนิคของ TOIEC พาร์ท 5 ที่ผมแชร์ไปด้านบน

สำหรับคำถามสุดท้ายในบทความ จาก 3 ใน 4 ข้อที่เหลือ จะถามความหมายครับ

เพื่อนๆ ต้องแปลประโยคที่โจทย์ให้มันแล้วเลือกประโยคที่มีความหมายเหมาะและเข้ากับบทความมากที่สุด

ฝึกทำข้อสอบจากที่ไหนดี

พอได้รู้ลักษณะ และวิธีทำคร่าวๆ แล้ว เรามาลองทำข้อสอบกันหน่อยดีกว่าครับ

เหมือนเดิมครับตัวอย่างข้อสอบนี้มาจาก แอพ MMR TOEIC Reading ที่มีเฉลยภาษาไทยมาให้เพื่อนๆได้ลองทำกันครับ เมื่อดูโจย์แล้ว ลองตอบคำตอบไว้ในใจนะ แล้วค่อยกดดูเฉลยครับ

Question 1

P6.1

Question 2

P6.2
P6.2A

Question 3

P6.3
P6.3A

Question 4

P6.4

สรุป

บทความนี้ ผมได้อธิบายหลัก และเทคนิคในการทำข้อสอบให้เพื่อนๆ วิธีนี้เป็นวิธีที่ผมเองได้มาจากการศึกษามาจากหลายๆ ที่ และสรุปได้มาเป็นตามที่อธิบายไปเลยครับ

ผมอยากให้เพื่อนๆ ระลึกไว้เสมอนะครับว่า TOEIC ต้องการวัดทักษะความเข้าใจภาษาอังกฤษของเรา

วิธีเดียวที่จะเข้าใจมากขึ้น ไม่ใช่ท่องจำนะครับ แต่คือการฝึกฝน

ถ้าเพื่อนๆ ต้องการได้คะแนนสอบ TOEIC พาร์ท 5 และ 6 ให้ได้เยอะๆ ต้องฝึกให้บ่อย 

และต้องทบทวนด้วยว่า ที่ถูกนั้นเพราะอะไร ที่ผิดนั้นเพราะอะไร 

ดังนั้นเพื่อนๆ ต้องฝึกฝนบ่อยๆ นะครับ ฝึกให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้เลยนะ

บทความต่อไปจะเป็นบทความเกี่ยวกับ TOEIC พาร์ท 7 หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยคกับเพื่อนๆ นะครับ

ก่อนจากกันไป

ผมมีตัวช่วยให้เพื่อนฝึกฝนได้บ่อย ได้ทุกที่ เป็นแอพรวบข้อสอบ TOEIC format 2020 ที่มีการันตีจาก user ที่ใช้ว่าใกล้เคียงข้อสอบจริงแบบสุด

แอพนั้นคือ MMR TOEIC Reading Practice สามารถดาวน์โหลดได้จากปุ่มด้านล่างเลยครับ

ข้อดีของแอพนี้คือ

  • ข้อสอบใหม่ new format แบบเดียวกับสอบจริงปีนี้
  • ทุกข้อมีเฉลยภาษาไทยอย่างละเอียด
  • รวม TOEIC part 5, part 6 และ part 7
  • อัพเดทข้อสอบทุกวัน
  • มี Team support เป็นคนไทย ติดต่อได้ผ่านจากในแอพ

อย่าลืมดาวน์โหลดกันเยอะๆ กันนะครับ ^^