เตรียมสอบ TOEIC ด้วยตัวเอง ตอนที่ 5 – สรุป TOEIC Part 7

ทำข้อสอบบทความให้ได้คะแนนเยอะที่สุด

Admin

สำหรับคนที่เตรียมสอบ TOEIC ด้วยตัวเอง ควรเริ่มศึกษาอะไรก่อน เป็นอันดับแรก

ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้ลงเรียนคอร์สอะไรเลย ก่อนสอบ TOEIC เริ่มอ่านทุกอย่างด้วยตัวเอง ผมจึงเข้าใจความรู้สึกของการที่จะไม่รู้จะเริ่มต้น อ่าน TOEIC จากตรงไหนดี

สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังหาหนทางในการเริ่มต้นไม่เจอ ผมได้จัดทำ ซีรี่ย์บทความการเตรียมสอบ TOEIC ด้วยตัวเองขึ้นมา

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการอ่าน TOEIC ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเสียเงินเข้าเรียนคอร์สอะไรทั้งนั้น

รับรองว่าอ่านบทซีรีย์บทความของเรา เทียบเท่ากับซื้อหนังสือ หรือเรียนคอร์สออนไลน์แน่นอนครับ 

และที่สำคัญ ฟรี อ่านได้ฟรีๆ ไม่คิดเงินสักบาท

ตอนที่ 5 สรุป TOEIC Part 7

ข้อสอบ TOEIC พาร์ทที่ผู้สอบทำไม่ได้มากที่สุดคือพาร์ท 7 หรือที่เราเรียกมันว่า ข้อสอบบทความครับ

ความยากของพาร์ทนี้คือความเยอะของจำนวนบทความ และข้อดีของบทความก็คือคำตอบที่ถูกต้องอยู่ในบทความนั้นแหละ ถ้าสามารถ “จับใจความ” หรือ “เจอคำตอบ” ของคำถามในบทความแล้ว เราก็สามารถตอบ และเก็บคะแนนจากคำถามข้อนั้นๆ ได้เลยครับ

ในบทความนี้ ผมจะไกด์เพื่อนๆ ให้รู้จักกับข้อสอบลักษณะนี้ ลักษณะคำถาม ความยากของคำถาม และวิธีการทำข้อสอบครับ

post cover ตอนที่ 5

Table of Contents

TOEIC พาร์ท 7

บทความในข้อสอบ TOEIC นั้น จะแบ่งได้หลักๆ 3 ประเภทตามจำนวนของบทความครับ ได้แก่

  1. ข้อสอบ 1 บทความ 
    (จะมีคำถามอยู่ในบทความ 2-4 ข้อ)
  2. ข้อสอบ 2 บทความ
    (จะมีคำถามอยู่ในบทความ 5 ข้อ)
  3. ข้อสอบ 3 บทความ
    (จะมีคำถามอยู่ในบทความ 5 ข้อ)

ตัวเนื้อเรื่องของบทความก็จะแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันเสมอคือ ลักษณะของคำถามครับ

ประเภทที่จะต้องเจอในโจทย์ของบทความ

1. คำถามที่ถามว่าเนื้อหาทั้งบทความเกี่ยวกับอะไร เหมาะสำหรับใคร ทำมาเพื่ออะไร

ชื่อหัวข้อที่ 1 นี้เป็นชื่อกว้างๆ นะครับ เพราะจริงๆ นั้นมันถามได้เยอะกว่านี้อีกมากๆ แล้วแต่ว่าบทความนั้นเกี่ยวกับอะไร ฟังดูเหมือนว่าจะยากนะ แต่การตอบคำถามประเภทนี้ง่ายมาก

ในบางครั้งคำตอบก็จะอยู่ในเนื้อหาตอนต้นของบทความ หรือมีบางประโยคของบทความก็บอกคำตอบของคำถามตรงๆ มาลองดูตัวอย่างคำถามแบบนี้กันดีกว่าครับ

ให้ดูที่โจทย์ 148 จากรูปตัวอย่างที่ 1 นะครับ คำถามนั้นถามเกี่ยวกับว่าใครจะได้ประโยชน์มากที่สุดสำหรับ event นี้ ซึ่งคำถามนี้เป็นการถามเกี่ยวกับตัวเนื้อหาทั้งของของบทความ 

ตัวอย่าง-1-png

2. คำถามที่ถามรายละเอียดในเนื้อหาของบทความ

คำถามแบบนี้ตรงๆ ตามชื่อเลยครับ ถามเกี่ยวกับเนื้อหาภายในบทความ ซึ่งคำตอบก็จะอยู่ในบทความแหละ อยู่ที่เราจะหามันเจอหรือไม่เท่านั้นครับ ตัวอย่างให้ดูที่ รูปตัวอย่างที่ 2 นะครับ

จากรูปที่  2 ข้อ 150 จะเห็นว่า โจทย์ถามว่า What is indicated about email addresses? คำถามนี้พบได้บ่อยมากๆ ผมแนะนำให้เพื่อนๆ แปล  What is indicated about ว่า “ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ” เลยครับ จะทำให้เข้าใจคำถามได้ง่ายขึ้น

ซึ่งข้อ 150 นี้ ถามว่า ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ email address

ตัวอย่าง-2-png

3. คำถามที่ถามเกี่ยวเนื่องกันระหว่างบทความ

คำถามประเภทนี้จะเจอได้ก็แค่ใน โจทย์แบบ 2 และ 3 บทความเท่านั้น โจทย์จะให้คำถามที่คาบเกี่ยวกันสองสองบทความลองดูตัวอย่างด้านล่างนี้ได้เลย

ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างข้อสอบจาก แอพ MMR TOEIC Reading นะครับ ซึ่งโจทย์จะถามว่า 

When will Ms. Rose most likely arrive at the Titus Conference Center?
(A) On August 7
(B) On August 14
(C) On August 15
(D) On August 16

โจทย์ถามวันที่ Rose จะต้องไปถึง Titus Conference Center วันไหน ลองอ่านบทความดูนะครับ จากนั้นกดดูเฉลยได้ที่ปุ่มด้านล่าง

เฉลยคำตอบจากภายในแอพ MMR TOEIC Reading อธิบายไว้ตามนี้ครับ

จากบทความที่ 1 ย่อหน้าที่ 2 ในประโยค we ask that as the organizer of the event, you arrive at the conference center a day before the conference begins. ใจความของคำแปลคือ “ผู้จัดงานต้องมาที่ Titus Conference Center ก่อนวันงาน 1 วัน”

จากบทความที่ 2 ย่อหน้าที่ 1 ในประโยค We would like to reserve your conference space for the weekend of August 15 to 16. ประโยคนี้ทำให้เรารู้ว่า Ms. Rose ต้องการจะจอง conference room วันที่ August 15 to 16

จากบทความที่หนึ่ง และบทความที่สอง ทำให้สรุปได้ว่า Ms. Rose ต้องมาถึงที่ Titus Conference Center หนึ่งวันก่อนวันที่ August 15 to 16 ซึ่งก็คือ ตัวเลือก (B) On August 14

คำตอบที่ถูกต้องคือ (B) On August 14

4. คำถามที่ถามความหมายของประโยคในบทความ

คำถามประเภทนี้ ส่วนจะให้เราอ่านบทความ แล้วจะถามว่า ในประโยค นั้นๆ ในบทความ ผู้เขียนต้องการสื่อว่าอะไร 

อันนี้เป็นโจย์รูปแบบนึงที่เพิ่มเข้ามาในข้อสอบ New Format นะครับ

มาลองดูตัวอย่างกัน

 

ตัวอย่างข้อสอบแบบ แชท

จากบทความโจทย์จะให้คำถามมาว่า

At 4:30 P.M., what does Mr. Lowenthal most likely mean when he writes, “Not at all”?
(A) He will clear Ms. Martin’s work space.
(B) He has run out of some supplies.
(C) He was unable to speak with some clients.
(D) He will amend a cleaning schedule.

 

โจทย์ถามเราว่า ณ เวลา 4:30 ที่ Mr. Lowenthal พิมพ์มาว่ “Not at all” เขาต้องการจะสื่อว่าอะไร

ลักษณะโจทย์แบบนี้ เราต้องอ่านบทความนี้ให้เข้าใจว่าในแชทกำลังคุยอะไรกันอยู่ และประกอบกับบริบทนั้นๆ ตัวเลือกไหนที่ สื่อได้ถึงในบริบทของคำที่โจทย์กำหนดมาครับ

ข้อนี้ถามว่า ณ 4:30 P.M. Mr. Lowenthal ต้องการสื่อว่าอะไรตอนที่พิมพ์ว่า “Not at all”

คำตอบที่ถูกต้องอยู่ในข้อความนี้

Charles Lowenthal [4:28 P.M.]
The carpets will be cleaned this evening, so employees are supposed to remove all of their personal items from the floor of their cubicles.

Stephanie Martin [4:29 P.M.]
Oh, no! I had forgotten about that! Would it be too inconvenient for you to do it for me?

Lowenthal บอกไว้ว่าพนักงานทุกคนจะต้องย้ายสิ่งของของพวกเขาไปที่ห้องเก็บของเพราะว่าจะมีการทำความสะอาดพรมในวันนี้ แต่ Martin ไม่สามารถเก็บของของเธอได้เพราะว่าเธอจะไม่กลับมาที่ออฟฟิศแล้ว

และ Martin ถามว่าจะเป็นการรบกวน Lowenthal หรือไม่ถ้าจะให้ Lowenthal เก็บของให้เธอ

และการที่ Lowenthal ตอบกลับมว่า “Not at all” ก็หมายความว่าเขายินดีที่จะเก็บของให้กับ Martin ตัวเลือกที่ตรงใจความนี้ก็คือ A

คำตอบที่ถูกต้องคือ
(A) He will clear Ms. Martin’s work space.

5. คำถามหาตำแหน่งที่เหมาะสมกับประโยคที่โจทย์กำหนดมาให้

โจทย์จะให้บทความที่เว้น ตำแหน่งในบทความไว้ 4 ตำแหน่ง และจะให้ประโยคมา 1 ประโยค

หน้าที่ของเราคือ หาตำแหน่งที่เหมาะสมกับประโยคที่โจทย์ให้มา

คำว่าเหมาะสมในที่นี้คือ เหมาะสมด้วยความหมายนะครับแทนที่ประโยคในบทความแล้วให้ความหมายเข้ากันมากที่สุด

มาดูตัวอย่างกัน

ตัวอย่างข้อสอบเว้นตำแหน่ง

คำถามที่โจทย์ให้มาคือ

In which of the positions marked [1], [2], [3], and [4] does the following sentence best belong?

“It is amazing that this had not happened yet, considering that you and I have been working on many of the same projects.”

(A) [1]
(B) [2]
(C) [3]
(D) [4]

แปลคำถามง่ายๆ ก็คือ ประโยคนี้

“It is amazing that this had not happened yet, considering that you and I have been working on many of the same projects.”

เหมาะกับตำแหน่งไหนมากที่สุด 1 2 3 4

ปัญหาที่เพื่อนๆ จะงงกันมากที่สุด คือ

ในบทความจะมี ขีดด้านหน้า และด้านหลังตัวเลข เช่น ตำแหน่งที่หนึ่ง ในบทความจะเขียนแบบนี้ -[1]- 

ซึ่งเพื่อนๆ จะงงกันว่า ประโยคที่โจทย์ให้นั้น จะต้องไปวางด้านหน้า หรือหลัง ตัวเลข 1

วิธีทำโจทย์แบบนี้ก็คือ

หยุดสนใจ ขีดด้านหน้า และขีดด้านหลังครับ โจทย์ไม่ได้ถามว่า วางหน้า หรือหลังตัวเลข ดังนั้น เราไม่ต้องไปสนใจขีด สนใจที่ตัวเลขครับ

ให้เพื่อนๆ ทำเป็นมองไม่เห็นขีดเหล่านั้น และดูแค่ตัวเลขตำแหน่ง 1 2 3 4  เท่านั้น

จากนั้นให้เพื่อนๆ เอาประโยคที่โจทย์กำหนดให้ ไปแทนที่ แต่ละตำแหน่ง แล้วดูว่า วางที่ตำแหน่งไหนแล้ว ความหมายเข้ากับบริบทมากที่สุด ตำแหน่งนั้นคือตำแหน่งที่ถูกต้องครับ

อย่างข้อนี้ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ ตำแหน่งที่ 1 ครับ คำตอบที่ถูกต้องก็คือ A [1]

พูดถึง เรื่อง ขีดด้านหนัา ด้านหลังตัวเลขนิดนึง ขีดพวกนี้ มันมีไว้เพื่อให้เรามองหาตัวเลข กับตำแหน่งในบทความได้ชัดขึ้นครับ ไม่ได้มีเอาไว้ถามว่า หน้า หรือหลังตัวเลขครับผม

ความยากของโจทย์บทความที่จะต้องเจอ

สิ่งที่ทำให้คำถามบทความนั้นยากแบ่งได้ 3 ส่วนครับ

1. เราไม่รู้คำศัพท์

การรู้คำศัพท์ทุกคำในบทความเป็นลาภอันประเสริฐของเราครับ ถ้าเมื่อใดเราไม่รู้บางคำ เราอาจจะอ่านบทความข้ามคำนั้นไปได้ และเรายังเข้าใจบทความอยู่ก็ถือว่าเรายังโชคดี

แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราไม่รุ้คำศัพท์ที่อยุ่ในคำถาม หรือในตัวเลือก แล้วทำให้เราไม่เข้าใจความหมายของมันแล้ว โชคร้ายได้มาเยือนเราแล้วครับ

การเตรียมตัวที่ดีที่สุดคือ เราต้องฝึกทำข้อสอบเยอะๆ จดคำศัพท์จากข้อสอบที่เราฝึกทำเอามาท่องครับ วิธีนี้ช่วยได้สำหรับการเตรียมคลังคำศัพท์ก่อนสอบครับ

2. อ่านประโยคในบทความไม่ออก

บทความคือการรวมกันของประโยคหลายๆ ประโยค ถ้าเราสามารถอ่าน และเข้าใจประโยคทุกประโยคของบทความได้นั้นก็จะทำให้เราเข้าใจบทความได้ทั้งหมด หลายๆ สำนักอาจจะบอกว่า ไม่ต้องอ่านให้เข้าใจทั้งหมดหรอกบทความอะ อ่านผ่านๆ แล้วไล่หาคำตอบเอาก็ได้ แต่ส่วนตัวผมไม่ได้คิดแบบนั้น ยิ่งในตอนฝึกทำข้อสอบ เราควรอ่านให้ได้ทั้งหมดครับ เป็นการฝึกไปในตัว เมื่อครั้งเราอ่านเก่งแล้ว เราจะอ่านเร็วขึ้น และยิ่งประโยคของบทความ TOEIC ไม่ได้เป็นประโยคที่ยาก ถ้าสกิลการอ่านของเราเก่งขึ้นบทความโทอิคนี่เด็กน้อยไปเลยครับ สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังรู้สึกว่าสกิลการอ่านของตัวเรายังไม่ดีพอ ลองอ่านบทความนี้นะครับ  >>ฝึกอ่านประโยคภาษาอังกฤษ<<  

3. เนื้อหาในบทความ กับตัวเลือก ใช้คำศัพท์คนละคำกัน รูปแบบประโยคต่างกัน แต่ใจความนั้นตรงกัน

สำหรับเพื่อนๆ ที่คิดว่าถ้าเจอคำตอบในบทความแล้วตัวเลือกของโจทย์นั้นจะเป็นแบบเดียวกับบทความ อาจไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป

สิ่งที่ยากที่สุดของ TOEIC Reading พาร์ท 7 คือข้อนี้ครับ ซึ่งผมรับรองได้เลยว่าเพื่อนๆ ได้เจอแน่ๆ ความยากนี้ ตัวอย่างที่เพื่อนๆ จะได้พบเจอจะเป็นแบบนี้ครับ

ในบทความพูดประโยคนึง ในตัวเลือกพูดประโยคนึง แต่ทั้งสองประโยคนั้นแปลความหมายเดียวกัน ใจความแบบเดียวกัน ทำให้ตัวเลือกนั้นถูกต้อง

พูดแล้วภาพอาจจะยังไม่มา ลองมาดูตัวอย่างข้อสอบกันดีกว่าครับ

 

What does Ms. Rose suggest about the Titus Conference Center?
(A) It will be their first time working together.
(B) It will relocate in August.
(C) It has several locations in the country.
(D) It failed to satisfy some guests last year.

โจทย์ข้อนี้แปลง่ายๆ ได้ว่า Rose บอกเกี่ยวกับ Titus Conference Center ว่าอะไร?

ลองอ่านบทความด้านล่างนี้ดูนะครับ บทความเดิมจากแอพ MMR TOEIC Reading กดดูเฉลยได้ที่ปุ่มด้านล่างครับ

เฉลยจากแอพ MMR TOEIC reading ของข้อนี้คือ

คำตอบที่ถูกต้องอยู่ในย่อหน้าสุดท้ายของบทความที่ 2 ในประโยค There is one thing that I would like to tell you. Actually, last year, some of our attendees were disappointed because the dining hall didn’t offer a variety of vegetarian options. I hope this inconvenience will be dealt with in advance this year.

ใจความของประโยคนี้คือ Rose ต้องการสื่อว่า ปีที่แล้วผู้เข้าร่วมงานไม่พอใจที่ Titus Conference Center มีอาหารสำหรับ vegetarian น้อยเกินไป

ดังนั้นสิ่งที่ Ms. Rose ระบุไว้เกี่ยวกับ Titus Conference Center ตรงกับตัวเลือก (D) ที่แปลว่า ศูนย์การประชุมไม่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับแขกบางส่วนเมื่อปีที่แล้ว

คำตอบที่ถูกต้องคือ (D) It failed to satisfy some guests last year.

จะเห็นได้ว่า

ตัวเลือก D กับ ประโยคที่ถูกต้องในบทความนั้น เขียนไม่เหมือนกันเลย ใช้คำศัพท์คนละคำ แต่ใจความของความหมายนั้นเหมือนกัน

เทคนิคการทำข้อสอบแบบนี้

หลังจากที่เราได้รู้จักกับข้อสอบ และความยากที่จะต้องไปกันไปแล้ว เพื่อนๆ คงสงสัยว่า แล้วจะทำข้อสอบแบบนี้ยังไงดี ผมมีเทคนิคที่ผมใช้มาแนะนำครับ

เพื่อนๆ สามารถทำตามนี้ได้เลย

1. อ่านโจทย์แรกที่ถาม

เวลาเพื่อนๆ เจอโจทย์บทความ ในบทความจะมีโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นๆ ครับ สิ่งที่ควรทำอย่างแรกเลยคือ อ่านโจทย์แรก ให้รู้ว่าคำถามแรกนั้นถามอะไรครับ

จากตัวอย่างรูปด่านล่างนี้โจทย์แรกที่ถามคือ

147. What are attendees advised to bring to the meeting?

ตัวอย่าง 1

2. อ่านบทความทั้งบทความให้เข้าใจ

สิ่งที่ผมจะบอกให้ทำคือ อ่านบทความให้เข้าใจ นะครับ เพื่อนๆ ควรเข้าใจบทความที่อ่านตั้งแต่ครั้งแรกที่อ่านเลย มันจะทำให้ง่ายกับการย้อนกลับมาหาคำตอบที่อยู่ในบทความ ของโจทย์ข้ออื่นๆ

ส่วนตัวของผมคือ ไม่เห็นด้วยกับการอ่านโจทย์ทีละข้อ แล้วค่อยมาสแกนหาคำตอบ เพราะจะทำให้เพื่อนๆ งง และมึนได้

ข้อดีของการอ่านบทความ จนเข้าใจแล้ว มันจะทำให้เราเก็ท ว่าบทความนั้นเกี่ยวกับอะไรกันแน่ ส่วนคำถามที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดนั้น เราค่อยมาไล่หาคำตอบอีกครั้งได้ครับ

พอเรารู้แล้วว่าตรงส่วนไหนของบทความ พูดไว้ว่าอะไรบ้าง มันประหยัดเวลาได้เยอะว่า แน่นอน

และปัญหาสำคัญเลยนะ เวลาผมอ่านไม่เข้าใจอะ ความรู้สึกของเรามันจะแย่ไปเลย เหมือนคนแน่นหน้าอก ไม่แน่ใจว่าเพื่อนๆ เป็นเหมือนกันไหม แล้วพอเรานอย ไปกับความรู้สึกนี้แล้ว จะทำข้ออื่น อ่านบทความอื่นมันก็จะรู้สึกหายไปไม่ทั่วท้องเลย

และสำหรับโจทย์ 2 และ 3 บทความใช้หลักการเดียวกันเลยครับ คืออ่านบทความทั้งหมดก่อน แล้วค่อยไปทำโจทย์ เพื่อนๆ ลองทำตามผมดูก่อนได้ครับ ตอนที่ฝึกซ้อมทำข้อสอบ แล้วจะรู้สึกถึงความแตกต่างของวิธีที่ผมใช้ กับการไล่หาคำตอบของโจทย์แต่ละข้อ

 

3. ทำโจทย์

พออ่านบทความเข้าใจแล้ว ผมจะมาไล่ทำโจทย์ทีละข้อครับ อ่านคำถามให้เข้าใจ แล้วไปไล่หาคำตอบในบทความ

และจากที่เราเข้าใจบทความแล้ว เราจำได้ว่าส่วนไหนของบทความที่พูดเกี่ยวกับคำถามของโจทย์นั้นๆ เราก็แค่ skim ในบทความจนเจอประโยคนั้น แล้วก็เอามาวิคราะห์ใจความของประโยคที่ถูกต้องครับ

เมื่อได้ใจความของประโยคที่ถูกต้องแล้วก็เอามาเทียบกับคำแปลของตัวเลือก ตัวเลือกไหนแปลตรงกับใจความนั้นก็เลือกตอบเลย

การฝึกฝน

สิ่งที่จะทำให้เราทำข้อสอบบทความได้คะแนนน้อย คือ เรารู้ศัพท์น้อยไป และบทความได้ช้าเกินไป สิ่งนี้เราต้องฝึกฝนครับ ฝึกยังไง

  1. ฝึกอ่านภาษาอังกฤษให้ได้เยอะๆ ลองหาเว็บ หรือหนังสือ ที่เราสนใจแล้วหัดอ่านมัน ทำให้บ่อย ทำให้ชิน แล้วเราจะอ่านไวขึ้น และเข้าใจประโยคภาษาอังกฤษได้เร็วขึ้น
  2. ไม่รู้ศัพท์ต้องหมั่นจดศัพท์ และทบทวนครับ นี่เป็นวิธีเดียวที่จะเพิ่มคลังศัพท์ได้

สุดท้ายคือการฝึกซ้อมทำข้อสอบครับ เพื่อนสามารถโหลดข้อสอบฟรี จากเว็บของเราไปฝึกซ้อมทำได้เลยนะครับ สำหรับการเตรียมซ้อมสอบจริง ลองจับเวลาทำข้อสอบไปด้วยนะครับ และมาทบทวนว่าทำไมข้อนี้ถูก ข้อนี้ผิดด้วย

เพราะโทอิค วัดความเข้าใจภาษาอังกฤษของเรา ยิ่งเราฝึกบ่อย เรายิ่งได้คะแนนดีขึ้นครับ

ผมมีแอพที่จะทำให้เพื่อนๆ มีโอกาสได้คะแนนสอบ TOEIC Reading เยอะขึ้น มากขึ้น และทำให้เพื่อนๆได้คะแนนอย่างที่ต้องการครับ

แอพนั้นคือ MMR TOEIC Reading

แอพนี้รวมข้อสอบ reading ของ TOEIC ไว้ครบทุกพาร์ท ข้อสอบพาร์ท 7 ก็มี พร้อมทั้งมีเฉลยแบบละเอียด แบบนี้ผมแสดงตัวอย่างให้ดูในบทความนี้เลยครับ

แอพนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ ได้ฝึกฝน และทำข้อสอบ TOEIC ได้บ่อย และทำได้ทุกที่ ยิ่งฝึกฝนบ่อย เรายิ่งเพิ่มโอกาสได้คะแนน TOEIC ตามที่เราหวังครับ

โหลดแอพได้จาก 2 ลิ้งค์นี้เลยครับ มีทั้ง IOS และ Android

ข้อดีของแอพนี้คือ

  • ข้อสอบใหม่ new format แบบเดียวกับสอบจริงปีนี้
  • ทุกข้อมีเฉลยภาษาไทยอย่างละเอียด ทำให้เพื่อนได้เข้าใจข้อสอบ TOEIC ได้ดีมากขึ้น
  • รวม TOEIC part 5, part 6 และ part 7
  • อัพเดทข้อสอบทุกวัน
  • มี Team support เป็นคนไทย ติดต่อได้ผ่านจากในแอพ

อย่าลืมดาวน์โหลดกันเยอะๆ กันนะครับ ^^