Subject-Verb Agreement – แกรมม่าต้องรู้ก่อนสอบ TOEIC

สรุป Subject-Verb Agreement ให้เข้าใจในบทความเดียว

Admin

Table of Contents

Subject-Verb Agreement

Subject-verb agreement หมายถึง การผันคำกริยาให้ตรงกับประธาน โดยจะพิจารณาว่าประธานของประโยคเป็น Singular หรือ Plural แล้วผันคำกริยาให้ตรงกับประธานตัวนั้นๆ ตามหลักการของ grammar และ tense

Verb to be น Present Simple Tense

  • I am her boyfriend. ประธานเป็น I กริยา verb to be เลยต้องผันเป็น am
  • She is my girlfriend ประธานเป็น She กริยา verb to be เลยต้องผันเป็น is
  • We are friends. ประธานเป็น We กริยา verb to be เลยต้องผันเป็น are

Present Simple Tense ทั่วไป

  • Peter drives to the office every day. ประธานเป็นเอกพจน์ คำกริยาต้องเติม s
  • I drive to the office every day. ประธานเป็น I คำกริยาไม่ต้องเติม s
  • They drive to the office every day. ประธานเป็นพหูพจน์ คำกริยาไม่ต้องเติม s

ข้อควรระว่างในการพิจาณา subject-verb agreement

1. collective noun

collective noun หรือ สมุหนาม เป็นคำที่เราใช้บอกความเป็น “หมวดหมู่” ของคำนาม ช่น audicnce, family, class, commitee กลุ่มคำเหล่านี้เป็น “เอกพจน์”

  • Our family goes to New York every 2 years. (เรามอง family ทั้งก้อนเป็นหนึ่งเดียว)

แต่หากพูดถึง collective noun ในลักษณะที่ทำกริยานั้นๆ ต่อกันในกลุ่มของพวกเขาเอง เราจะถือว่า นามนั้นเป็น “พหูพจน์”

  • Our family are arguing about where to go for vacation this year. (เรามองการกระทำนี้ว่าเป็นคนหลายคนใน family กระทำ )
collective noun ที่ใช้บ่อยๆ

2. noun บางตัวลงท้ายด้วย s แต่ไม่ได้เป็น พหูพจน์ เช่น

3. คำที่เป็นได้ทั้ง "เอกพจน์" และ "พหูพจน์"

Noun ที่เป็นได้ทั้ง เอกพจน์ และ พหูพจน์

4. One of ..

One of … หรือ หนึ่ง ใน … เป็นวลีที่ใช้บ่อยในภาษาอังกฤษ และสร้างความสับสนได้ง่าย เพราใช้กับ noun ในรูป “พหูพจน์” เสมอ แต่ว่ามันยังให้ความเป็น “เอกพจน์” เพราะประธานจริงๆ แล้วคือ คำว่า one  ที่แปลว่า หนึ่ง

  • One of her children works in her company.
    ลูกของเธอหนึ่งคนทำงานในบริษัทของเธอ

5. subject และ verb แท้ของประโยค

ในบางประโยค subject และ verb แท้ของประโยคก็ไม่ได้อยู่ติดกันเพราะมี phase หรือวลีมาคั่นกลาง เพือให้สามารถผัน verb ได้ถูกต้องตาม subject เราต้องสามารถวิเคราะห์ให้ได้ว่า verb แท้ของประโยคคือตัวไหน

  • The car that we just bought was crashed last week.
    รถที่เราเพิ่งซื้อถูกชนเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
    (ประธานของประโยค คือ “The car” และ verb แท้ของประโยค คือ “was crashed”)
  • The person whom you talked to yesterday is my brother.
    คนที่เธอคุยด้วยเมื่อวานคือน้องชายของฉัน
    (ประธานของประโยค คือ “The person” และ verb แท้ของประโยคคือ “is”)
  • The girl playing the piano is in my class.
    เด็กที่เล่นเปียโนอยู่เรียนของเดียวกับฉัน
    (ประธานของประโยค คือ “The  girl” และ verb แท้ของประโยคคือ “is”)

สังเกตได้ว่าคำกริยาที่ตามหลังคำเชื่อ who, whom, that จะไม่ใช่ verb แท้ประโยคนะ แต่จะเป็นกริยาสำหรับ วลีที่เอามาใช้ขยายคำนาม verb แท้ของประโยคจะอยู่หลัง วลีขยายนี้

สรุป

Subject-verb agreement จริงๆ แล้วไม่ได้ยากเลยครับ แต่จะเป็นสิ่งที่เรานั้นจะลืมกันอยู่เสมอ

สิ่งที่ผมอยากจะเตือนให้เพื่อนๆ คือเรื่องของ การเติม s และ es ครับในคำกริยาของ present simeple tense ครับ

ก่อนพูด หรือใช้งานภาษาอังกฤษทุกครั้ง ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ ต้องจำให้ขึ้นใจเลยนะครับ ว่าต้องมี s หรือ es 

ที่ต้องเตือนแบบนี้เพราะว่า ผมพบเจอมากับตัวครับ เวลาพิมพ์แชท หรือพูด ลืมตลอดเลย ฮ่าๆ เลยไม่อยากให้เพื่อนๆ ลืมเหมือนกันครับ

ต่อไปจะเป็น grammar เรื่อง Causatives นะครับ รอติดตามชมได้เลย